ads by google

วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

TCP/IP คืออะไร

      การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบ  จะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น จำเป็นจะต้องมีภาษาสื่อสารที่เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol ) ซึ่งในระบบInternet จะใช้ภาษาสื่อสารมาตรฐานที่ชื่อว่า TCP/IP เป็นภาษาหลัก ดังนั้นหากเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นเครื่องระดับไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ หรือเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ก็สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้
TCP  ย่อมาจากคำว่า   Transmission Control Protocol
IP   ย่อมาจากคำว่า   Internet  Protocol
TCP/IP คือชุดของโปรโตคอลที่ถูกใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถใช้สื่อสารจากต้นทางข้ามเครือข่ายไปยังปลายทางได้
และสามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดยอัตโนมัติ 

TCP และ IP มีหน้าที่ต่างกัน คือ
 1.  TCP จะทำหน้าที่ในการแยกข้อมูลเป็นส่วน ๆ หรือที่เรียกว่า Package ส่งออกไป ส่วน TCP ปลายทาง ก็จะทำการรวบรวมข้อมูลแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป โดยระหว่างการรับส่งข้อมูลนั้นก็จะมีการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูลด้วย ถ้าเกิดผิดพลาด TCP ปลายทางก็จะขอไปยัง TCP ต้นทางให้ส่งข้อมูลมาใหม่
 2.  IP จะทำหน้าที่ในการจัดส่งข้อมูลจากเครื่องต้นทางไปยังเครื่องปลายทางโดยอาศัย IP Address 


ข้อมูลอ้างอิง
http://www.ongitonline.com
http://www.bloggang.com
http://www.kmitl.ac.th
http://www.it-guides.com

IP Address คืออะไร

 IP Address คืออะไร  


       IP Address ย่อมาจากคำเต็มว่า Internet Protocal Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลแบบ TCP/IP ถ้าเปรียบเทียบก็คือบ้านเลขที่ของเรานั่นเอง ในระบบเครือข่าย จำเป็นจะต้องมีหมายเลข IP กำหนดไว้ให้กับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต้องการ IP ทั้งนี้เวลามีการโอนย้ายข้อมูล หรือสั่งงานใดๆ จะสามารถทราบตำแหน่งของเครื่องที่เราต้องการส่งข้อมูลไป จะได้ไม่ผิดพลาดเวลาส่งข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด  เช่น 192.168.100.1 หรือ 172.16.10.1  เป็นต้น  โดยหมายเลข IP Address ของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีค่าไม่ซ้ำกัน สิ่งตัวเลข 4 ชุดนี้บอก คือ Network ID กับ Host ID ซึ่งจะบอกให้รู้ว่า เครื่อง computer ของเราอยู่ใน network ไหน และเป็นเครื่องไหนใน network นั้น เราจะรู้ได้อย่างไรว่า Network ID และ Host ID มีค่าเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับว่า IP Address นั้น อยู่ใน class อะไร 
       เหตุที่ต้องมีการแบ่ง class ก็เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบ เป็นการแบ่ง IP Address ออกเป็นหมวดหมู่นั้นเอง สิ่งที่จะเป็นตัวจำแนก class ของ network ก็คือ bit ทางซ้ายมือสุดของตัวเลขตัวแรกของ IP Address (ที่แปลงเป็นเลขฐาน 2 แล้ว) นั่นเอง โดยที่ถ้า bit ทางซ้ายมือสุดเป็น 0 ก็จะเป็น class A ถ้าเป็น 10 ก็จะเป็น class B ถ้าเป็น 110 ก็จะเป็น class C ดังนั้น IP Address จะอยู่ใน class A ถ้าตัวเลขตัวแรกมีค่าได้ตั้งแต่ 0 ? 127 (000000002 ? 011111112) จะอยู่ใน class B ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 128 ? 191 (100000002 ? 101111112) และ จะอยู่ใน class C ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 192 - 223 (110000002 ? 110111112) มีข้อยกเว้นอยู่นิดหน่อยก็คือตัวเลข 0, 127 จะใช้ในความหมายพิเศษ จะไม่ใช้เป็น address ของ network ดังนั้น network ใน class A จะมีค่าตัวเลขตัวแรก ในช่วง 1 - 126 
       สำหรับตัวเลขตั้งแต่ 224 ขึ้นไป จะเป็น class พิเศษ  อย่างเช่น  Class D ซึ่งถูกใช้สำหรับการส่งข้อมูลแบบ Multicast ของบาง Application และ Class E ซึ่ง Class นี้เป็น Address ที่ถูกสงวนไว้ก่อน ยังไม่ถูกใช้งานจริง ๆ  โดย Class D และ Class E นี้เป็น Class พิเศษ ซึ่งไม่ได้ถูกนำมาใช้งานในภาวะปกติ

    ตัวอย่าง IP Address
    Class A ตั้งแต่ 10.xxx.xxx.xxx
    Class B ตั้งแต่ 172.16.xxx.xxx ถึง 172.31.xxx.xxx
    Class C ตั้งแต่ 192.168.0.xxx ถึง 192.168.255.xxx 

       จาก IP Address เราสามารถที่จะบอก ได้คร่าวๆ ว่า computer 2 เครื่องอยู่ใน network วงเดียวกันหรือเปล่าโดยการเปรียบเทียบ Network ID ของ IP Address ถ้ามี Network ID ตรงกันก็แสดงว่าอยู่ใน network วงเดียวกัน เช่น computer เครื่องหนึ่งมี IP Address 1.2.3.4 จะอยู่ใน network วงเดียวกับอีกเครื่องหนึ่งซึ่งมี IP Address 1.100.150.200 เนื่องจากมี Network ID ตรงกันคือ 1 (class A ใช้ Network ID 1 byte) 

    วิธีตรวจสอบ IP Address
    1.คลิกปุ่ม Start เลือก Run
    2.พิมพ์คำว่า cmd กดปุ่ม OK
    3.จะได้หน้าต่างสีดำ
    4.พิมพ์คำว่า ipconfig กด enter
    5.จะเห็นกลุ่มหมายเลข IP Address 


ข้อมูลอ้างอิง
http://www.showded.com
http://www.it-guides.com/index.php

Web Services คืออะไร

Web Services คืออะไร


     Web Services คือระบบซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมา เพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านระบบเครือข่าย โดยที่ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ คือ XML เว็บเซอร์วิสมีอินเทอร์เฟส ที่ใช้อธิบายรูปแบบข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลผลได้  ลักษณะการให้บริการของ Web Services  นั้น จะถูกเรียกใช้งานจาก application อื่นๆ ในรูปแบบ RPC (Remote Procedure Call) ซึ่งการให้บริการจะมีเอกสารที่อธิบายคุณสมบัติของบริการกำกับไว้ โดยภาษาที่ถูกใช้เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนคือ XML ทำให้เราสามารถเรียกใช้ Component ใด ๆ ก็ได้ ใน ระบบ หรือ Platform ใด ๆ ก็ได้ บน Protocol HTTP ซึ่งเป็น Protocol สำหรับ World Wide Web หรืออินเทอร์เน็ต อันเป็นช่องทางที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกในการติดต่อสื่อสารกันระหว่าง Application กับ Application ในปัจจุบัน
     ประโยชน์ของ Web Services
1.Web Services ช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศจากแอพพลิเคชันที่ต่างกันเป็นไปโดยง่าย โดยแอพพลิเคชันนั้นๆ สามารถเขียนด้วย Java และรันอยู่บน Sun Solaris Application Server หรืออาจจะเขียนด้วย C++ และรันอยู่บน Windows NT หรืออาจะเขียนด้วย Perl และรันอยู่บนเครื่อง Linux ซึ่งมาตรฐานของ Web Service ทำให้อินเทอร์เฟซของแอพพลิเคชันเหล่านี้ ถูกอธิบายโดย WSDL และทำให้อยู่ในมาตรฐานของ UDDI หลังจากนั้น จึงสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันโดย XML ผ่าน SOAP อินเตอร์เฟซ
2.Web Services สามารถถูกเรียกใช้ภายในองค์กรเองหรือจากภายนอกองค์กร โดยผ่านไฟร์วอล์ ดังนั้นจึงมีองค์กรใหญ่ๆ มากมาย กำลังพัฒนาระบบที่มีอยู่ของตน ให้เข้ากับ Web Services ซึ่งนับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เนื่องจาก Web Services สามารถเพิ่มศักยภาพในการทำงานขององค์กร อีกทั้งลดค่าใช้จ่ายในการจัดการทรัพยากรขององค์กรได้อีกทางหนึ่ง
3.นอกจากนั้น Web Services ยังสามารถใช้ร่วมกับ Web Application โดยส่งผ่านข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตได้อีกด้วยซึ่งนับเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าหรือหุ้นส่วน ถึงแม้จะต้องคำนึงถึงระบบรักษาความปลอดภัย และการจัดการรายการของข้อมูลอยู่ก็ตาม แต่ Web Services ได้ใช้มาตรฐานทั่วไปของ internet เรื่องดังกล่าวจึงนับเป็นเรื่องธรรมดาของการสื่อสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
     การทำงานของ Web Services ประกอบไปด้วย มาตรฐานหลัก 4 อย่าง ดังนี้
1. XML (Extensible Markup Language) เป็นภาษามาตรฐานที่ทุกระบบสนับสนุน ทำให้ข้อมูลที่มีโครงสร้างของภาษา XML จะถูกนำไปประมวลผลต่ออย่างอัตโนมัติได้อย่างง่ายดาย ภาษา XML จึงถูกนำมาใช้เป็นภาษามาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูลของ Web Services
2. SOAP (Simple Object Access Protocol)  เป็นมาตรฐานของเทคโนโลยี Distributed Objects โดยทำหน้าที่ส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต ในรูปแบบของ XML ทำให้เรียกใช้งานโปรแกรมข้ามระบบผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้
3. WSDL (Web Services Description Language) เป็นภาษามาตรฐานที่ใช้สำหรับอธิบายการใช้งานโปรแกรมที่เปิดให้บริการ ซึ่งเขียนขึ้นตามแบบมาตรฐาน XML ดังนั้น WSDL จึงเป็นเสมือนคู่มือให้กับระบบ เพื่อเรียนรู้วิธีการเรียกใช้งาน Web Services
4. UDDI (Universal Description, Discovery, and Integration) เป็นระบบมาตรฐานในการอธิบายและค้นหา Web Services โดยเป็นตัวกลางให้ provider  มาลงทะเบียนไว้ โดยใช้ไฟล์ WSDL บอกรายละเอียดของบริษัทและบริการที่มีให้ ทำให้ Requestor สามารถค้นหาและทราบว่าบริษัทมีผลิตภัณฑ์และบริการอะไรบ้าง สามารถติดต่อขอดำเนินธุรกิจการค้ากับบริษัทได้โดยอัตโนมัติผ่านทาง Web Services 



ข้อมูลอ้างอิง
http://www.itmanage.info
http://th.wikipedia.org
http://www.vcharkarn.com

API คืออะไร

       API ย่อมาจาก Application Programming Interface คือ ช่องทางการเชื่อมต่อ ,ช่องทางหนึ่งที่จะเชื่อมต่อกับเว็บไซต์ผู้ให้บริการ API จากที่อื่น เป็นตัวกลางที่ทำให้โปรแกรมประยุกต์เชื่อมต่อกับโปรแกรมประยุกต์อื่น หรือเชื่ิอมการทำงานเข้ากับระบบปฏิบัติการ
ตัวอย่าง เช่น Twitter มีหลายเว็บ ที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลกับ twitter ทั้งเป็นการอ่านข้อมูลจาก twitter หรือ ส่งข้อมูลเข้า twitter เองก็ตาม ซึ่งล้วนอาศัยการเชื่อมต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ด้วย API นั้นเอง และอีกหนึ่งตัวอย่าง เช่น Google Maps API คือบริการของ Google อีกรูปแบบหนึ่งที่เราสามารถนำข้อมูลของ Google Maps ที่ทาง Google ให้บริการโดยส่วนมากจะนำมาใช้กับเว็บไซต์ ของบริษัทฯหรือเว็บไซต์ห้างร้านต่างๆ เพื่อเป็นอีกช่องทางที่ให้ลูกค้ารู้ว่าบริษัทฯ หรือห้างร้านนั้น

ประโยชน์ของ API
1.สามารถรับส่งข้อมูลข้าม Server ได้
2.ไม่จำเป็นต้องเข้าหน้าเว็บหลัก ก็มีข้อมูลของเว็บหลัก จากเว็บที่ดึง API
    เอพีไอ แบ่งเป็น
    1.เอพีไอที่ขึ้นกับภาษา (language-dependent API) คือ เอพีไอ ที่สามารถการเรียกใช้จากโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาเพียงภาษาใดภาษาหนึ่ง
    2.เอพีไอไม่ขึ้นกับภาษา (language-independent API) คือ เอพีไอ ที่สามารถเรียกได้จากโปรแกรมหลายๆภาษา
          API ถือเป็นกลุ่มของฟังชั่น ขั้นตอน หรือคลาส (Class ) ที่ระบบปฏิบัติการ (OS) หรือผู้ให้บริการ สร้างขึ้นมา เพื่อรองรับการเรียกขอข้อมูล จากโปรแกรมอื่น ๆ ทั้งนี้ API สามารถใช้งานได้กับภาษาในการเขียนโปรแกรมที่รองรับเท่านั้น ซึ่งมันจะถูกจัดทำให้อยู่ในรูปแบบ Syntax หรือ element ที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างสะดวกสบาย



    ข้อมูลอ้างอิง
    http://y31.wikidot.com
    http://www.ichat.in.th
    http://meewebfree.com

    Web Server คืออะไร


    เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) ความหมาย คือ
    เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งให้บริการที่เก็บเว็บไซต์ (Server) แล้วให้ผู้ใช้ (Client) เรียกชมหน้าเว็บไซต์ได้โดยใช้โพรโทคอล HTTP ผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์

    การใช้งาน Web Server 
    1. เมื่อผู้ใช้ป้อนยูอาร์แอล (URL) ในโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ เช่น IE, Firefox, Google chome
    2. เครื่องไคลแอนท์จะแปลงชื่อโฮสต์ ภายในยูอาร์แอลเป็นไอพีแอดเดรส
    3. เครื่องไคลแอนท์ติดต่อกับเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยปรกติจะใช้โพรโทคอล TCP พอร์ต 80
    4. เมื่อทำการเชื่อมต่อเสร็จ จะใช้โพรโทคอล HTTP ในการเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการ
    ซอฟต์แวร์ หรือ โปรแกรมที่นำมาทำ เว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด 4 อันดับแรก คือ
    • Apache HTTP Server จาก Apache Software Foundation
    • Internet Information Server (IIS) จากไมโครซอฟท์
    • Sun Java System Web Server จากซัน ไมโครซิสเต็มส์
    • Zeus Web Server จาก Zeus Technology
    • นอกจาก 4 ตัวนี้แล้วยังมี โปรแกรมอีกหมาลตัวที่นำมาทำ web server
      สรุปเพื่อจำ
      Web server คือ เครื่องผู้ให้เก็บข้อมุลเว็บโดยใช้ HTHTTPTP(HyperText Transfer Protocol) ส่งสงผลเป็น html ให้ web Browser เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้ามาดูข้อมูล ภาพ เสียง ผ่าน web browser

      Web Browser คือ โปรแกรมที่ทำหน้าที่แสดงเนื้อหาเว็บไซต์ โดยแปลง เป็น html script เป็นข้อความที่เรา สามารถดูได้ เว็บบราวเซอร์ที่ได้รับความนิยม ได้แก่ Internet Explorer, Netscape, Mozilla Firefox Google Chome

      ความแตกต่างของ http และ https

      เว็บไซต์ที่มี https จะเพิ่มความปลอดภัยในการรับส่งข้อมูลให้กับเรามากขึ้นในขณะที่เราทำธุรกรรมออนไลน์ เพราะ https จะช่วยปกป้องข้อมูลสำคัญที่ส่งออกจากคอมพิวเตอร์ของเราผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้าไปยังเซิร์ฟเวอร์ของหน้า ร้านออนไลน์ ทำให้อาชญากรคอมพิวเตอร์ไม่สามารถนำข้อมูลไปใช้งานได้ แต่สำหรับเว็บไซต์ส่วนใหญ่ที่ใช้ http อาชญากรคอมพิวเตอร์จะสามารถขโมยข้อมูลที่ถูกส่ง
      จากคอมพิวเตอร์ของเราไปยังเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ (เซิร์ฟเวอร์ของหน้าร้านออนไลน์) ได้อย่างง่ายดาย


      ข้อมูลอ้างอิง
      http://www.ismed.or.th
      http://www.modify.in.th
      http://intranet.dt.mahidol.ac.th

      HTTPS คืออะไร

      HTTPS คืออะไร
                 https ย่อมาจาก Hypertext Transfer Protocol over Secure Socket Layer หรือ http over ssl คือ โปรโตคอลที่ระบุถึงการเชื่อมต่อแบบ Secure http โปรโตคอล https สร้างเพื่อความปลอดภัย
                ในการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตข้อมูลที่ทำการส่งได้ถูกเข้ารหัสเอาไว้ โดยใช้ Asymmetric Algorithm ซึ่งถ้าถูกดักจับได้ก็ไม่สามารถที่จะอ่านข้อมูลนั้นได้รู้เรื่อง โดยข้อมูลนั้นจะสามารถอ่านได้เข้าใจเฉพาะClient กับเครื่อง Server เท่านั้น นิยมใช้กับเว็บไซต์ที่ต้องการความปลอดภัยสูง เช่น เว็บไซต์ของธนาคาร ร้านค้าออนไลน์ เป็นต้น

      HTTP คืออะไร

      HTTP คืออะไร
                          HTTP ย่อมาจาก Hypertext Transfer Protocol คือ โพรโทคอลสื่อสารสำหรับการแลกเปลี่ยนสารสนเทศผ่านอินเทอร์เน็ต โดยหลักแล้วใช้ในการรับเอกสารข้อความหลายมิติที่นำไปสู่การเชื่อมต่อกับ World Wide Web(WWW )จะใช้เมื่อเรียกโปรแกรมweb browser เช่น Firefox, Google Chrome, Safari,Opera และ IE Microsoft Internet Explorer เรียกดูข้อมูลหรือเว็บเพจ โปรแกรมบราวเซอร์ดังกล่าวจะใช้โปรโตคอล HTTP ซึ่งโปรโตคอลนี้ทำให้เซิร์ฟเวอร์ส่งข้อมูลมาให้บราวเซอร์ตามต้องการ และบราวเซอร์จะนำข้อมูลมาแสดงผลบนจอภาพได้อย่างถูกต้อง
                      ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่าง Server และ Client ของ World Wide Web (Server) โดยส่งข้อมูลแบบ Clear text คือ ข้อมูลที่ทำการส่งไปนั้น ไม่ได้ทำการเข้ารหัส ทำให้สามารถถูกดักจับและอ่านข้อมูลได้ง่าย

      Proxy คืออะไร

      Proxy คืออะไร

                       Proxy คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการต่างๆ แทนเครื่องเซิร์ฟเวอร์จริงๆที่ตั้งอยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรืออาจเรียกง่ายว่า proxy คือตัวกลาง ซึ่งเป็นตัวกลางคั่นเรากับอินเตอร์เน็ต นั้นคือเมื่อคุณกำลังจะเปิด website ผ่าน proxy คุณก็จะส่งข้อมูลไปยัง proxy ก่อน และ proxy ก็จะส่งต่อไปยัง website ที่คุณต้องการจะเปิด แทนที่คุณจะติดต่อกับ website นั้นโดยตรง การใช้งาน Proxy สามารถทำได้ดังนี้ เช่น ใช้โปรแกรม proxy อย่างโปรแกรม Proxy Vampire, WinProxy เป็นต้น และนอกจากนี้ เรายังสามารถตั้งค่าเว็บบราวเซอร์ โดยทำการ set proxy เพื่อให้เราสามารถเข้าเว็บไซต์ต่างๆได้สะดวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถเข้าเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกได้ แบบสบายๆ เหมือนไม่ได้ถูกบล็อก

      proxy สามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆได้แก่
      1.Transparent proxy คือ proxy ที่ไม่จำเป็นต้องมีการติดตั้งปรับแต่งใด ๆ บนเครื่อง client มันจะทำงานโดยอัตโนมัติโดยการส่งทุกค่าผ่านทาง port 80 ไปยัง proxy
      2.Anonymous Proxy จะไม่ส่งค่าต่าง ๆ ที่เป็นการยืนยันตัวตนของผู้ใช้ไปยัง server ทำให้ server จะไม่สามารถมองเห็น IP Address ที่แท้จริงของคุณ
      3.Highly Anonymous Proxy จะไม่ส่งค่าต่าง ๆ ที่เป็นการยืนยันตัวตนของ proxy และของผู้ใช้ไปยัง server ทำให้ server จะไม่สามารถมองเห็น IP address ที่แท้จริงของคุณ และไม่รู้แม้ว่าคุณกำลังใช้ proxy อยู่
      4.Public Proxy สาธารณะที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย

      ประโยชน์ของ proxy
      1.สามารถเรียกดูข้อมูลจาก Web Site ต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น และช่วยประหยัดเวลาในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ก็เพราะ Proxy Server ก็จะสามารถใช้ข้อมูลที่เก็บไว้จากการร้องขอของผู้ใช้รายแรกมาส่งให้แก่ผู้ ใช้รายอื่น ๆ ได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องทำการร้องขอไปยัง Web server อีกครั้ง ทำให้สามารถประหยัดได้ทั้งเวลา และ Bandwidth ของเครือข่าย 
      2.การใช้ proxy มีประโยชน์ด้านความปลอดภัยของผู้ใช้ เช่น ช่วยปิดบัง IP Address ของผุ้ใช้
      3.proxy มีคุณสมบัติในด้านการจำกัดสิทธิที่จะเข้าถึงเว็บไซต์บางแห่งที่มีเนื้อหาไม่สมควรเข้าชม และสามารถจำกัด User ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต


      ข้อมูลอ้างอิง
      http://ccs.sut.ac.th
      http://www.modify.in.th
      http://websitemonster.exteen.com

      DSL คืออะไร

      DSL คืออะไร


                     DSL ย่อมาจาก Digital Subscriber Line คือเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงผ่านสายโทรศัพท์ โดยการสื่อสารนี้จะใช้ย่านความถี่ที่ไม่มีการใช้งานในระบบโทรศัพท์ ซึ่งทำให้เราสามารถเล่น Internet พร้อมกับพูดคุยโทรศัพท์ได้ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ระบบ DSL เป็นระบบที่ Online 24 ชั่วโมง ซึ่งเราไม่จำเป็นต้อง Dial-up เหมือนกับโมเด็มทั่ว ๆ ไป เป็นระบบที่มีคุณสมบัติในการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

          เทคโนโลยี DSL มีหลายเทคโนโลยี 
          ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line) 
          HDSL (High-bit-rate Digital Subscriber Line) 
          RADSL (Rate Adaptive Asymmetric Digital Subscriber Line) 
          SDSL (Symmetric Digital Subscriber Line) 
          VDSL (Very high-bit-rate Digital Subscriber Line) 

          หน้าที่ของ  DSL
                      ระบบโทรศัพท์แบบดั้งเดิมติดต่อกับที่อยู่อาศัยหรือธุรกิจขนาด เล็ก ด้วยสายโทรศัพท์ที่เรียกว่า Twisted pair โดยระบบโทรศัพท์แบบนี้เป็นการสับและส่งสัญญาณแบบอะนาล็อก อุปกรณ์นำเข้าสัญญาณจะแปลงเสียงเป็นกระแสไฟฟ้าด้วย amplitude และความถี่เพื่อส่งไปยังปลายทาง ในการรับสัญญาณจะแปลงสัญญาณแบบอะนาล็อก ให้เป็นเสียง ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์มี modem ในการแปลงสัญญาณ อะนาล็อก ให้เป็นค่า 0 และ 1 จึงเรียกว่า ระบบดิจิตอล
                     จากการส่งสัญญาณอะนาล็อก โดยผ่านสายทองแดงแบบ Twisted pair สามารถใช้กับโมเด็มขนาด 56 Kbps ทำให้ ความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ถูกจำกัด ด้วยระบบสายโทรศัพท์ดังกล่าว
                     Digital Subscriber Line (DSL) เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ ข้อมูลไม่ต้องเปลี่ยนเป็นสัญญาณอะนาล็อก โดยให้ข้อมูลแบบดิจิตอลแล้วส่งผ่านไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง และยินยอมให้ส่งไปยังผู้ใช้สามารถใช้  ขนาด bandwidth ที่กว้าง ในขณะที่มีการแบ่ง bandwidth บางส่วนสำหรับการส่งสัญญาณ อะนาล็อก เพื่อที่จะทำให้สามารถใช้โทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ในสายเดียวกัน

                     ADSL คือหนึ่งในเทคโนโลยีที่นำมาใช้งานอินเตอร์เน็ตตามบ้าน และองค์กรขนาดย่อม ซึ่งเป็นที่นิยมใช้งานมากที่สุด เนื่องมาจากคุณภาพและราคาที่ค่อนข้างเหมาะสมกับความต้องการ อีกทั้งการเชื่อมต่อแบบ DSL ไม่มีจุดอ่อนต่อการถูกดักจับ Packet เหมือนกับการใช้งานเคเบิลโมเด็ม
           
      ตัวอย่างการประยุกต์เทคโนโลยี DSL ไปใช้งาน
      1.Broadcast Audio & TV
      ดูรายการถ่ายทอดสดผ่าน TV, คอมพิวเตอร์
      2.Distance Learning
      การเรียนการสอนผ่านอินเตอร์เน็ต แบบ Interactive
      3.Interactive Network
      เล่นเกมส์ online
      4.Online Shopping
      Shopping แบบ online
      5.VDO Conference
      การประชุมทางไกล การอบรมทางไกล
      6.Video & Music on Demand
      ดูหนัง ฟังเพลงแบบ online สามารถเลือกได้ตามใจคุณ
      7.VPN : Virtual Private Network  
      การรับส่ง ติดต่อข้อมูลระหว่างสาขา


      ข้อมูลอ้างอิง
      http://www.com5dow.com
      http://www.yt.ac.th
      http://www.thaiall.com
      http://www.tteen.net

      บล็อกที่เกี่ยวข้อง