1. คอมพิวเตอร์ชนิดอนาลอกมักนำมาใช้ในงานประเภทใด
ข. การจองสายการบิน ค. ควบคุมการยิงขีปนาวุธ ง. การพยากรณ์ภูมิอากาศ |
2. โน๊ตบุ๊ค (Note Book) จัดอยู่ในคอมพิวเตอร์ขนาดใด
ข. มินิคอมพิวเตอร์ (Mini computer) ค. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) ง. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer) |
3. ข้อใดไม่ใช่ประเภทของคอมพิวเตอร์
ข. ผสม ค. อนาลอก ง. ซิงโครนัส |
4. ส่วนประกอบของ Computer มีอะไรบ้าง
ข. ฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์, CPU ค. คีย์บอร์ด, จอภาพ , เมาส์ ง. อินพุต, เอาท์พุต,หน่วยประมวลผล |
5. มินิคอมพิวเตอร์ เหมาะสำหรับงานประเภทใด
ข. งานด้านควบคุมเครื่องจักรในโรงงาน ค. งานด้านธนาคาร ง. งานด้านการทดลอง |
6. คอมพิวเตอร์มีกี่ยุค
ข. 3 ยุค ค. 5 ยุค ง. 6 ยุค |
7. ข้อใดคือประเภทของคอมพิวเตอร์
ข. คอมพิวเตอร์ชนิดอนาลอก ค. คอมพิวเตอร์แบบผสม ง. ถูกทุกข้อ |
8. ขนาดของคอมพิวเตอร์ชนิดใดทีขนาดใหญ่ที่สุด
ข. มินิคอมพิวเตอร์ (Mini computer) ค. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) ง. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer) |
9. คอมพิวเตอร์ชนิดดิจิตอลเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบใด
ข. เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานโดยการรับข้อมูลแบบนับจำนวนอย่างต่อเนื่องกัน ค. เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการคำนวณโดยการนับจำนวนโดยตรง ง. เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการคำนวณโดยการวัดจำนวณโดยตรง |
10. ยุคที่ 1 ใช้เทคโนโลยีอะไรในการสร้างคอมพิวเตอร์
ข. หลอดสูญญากาศ ค. วงจรผนึก ง. แผนวงจรรวม |
วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555
แบบบทดสอบ หน่วยที่ 2 เรื่อง เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์
แบบบทดสอบ หน่วยที่ 1 เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. ข้อใดคือลักษณะของสารสนเทศที่ดีด้านเนื้อหา
ข. ความสมบูรณ์ครอบคลุม ค. ชัดเจน ง. ความยืดหยุ่น |
2. ความหมายของสารสนเทศ
ข. การประมวลผลที่เป็นสารสนเทศ ค. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือข้อมูลดิบ ง. ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลหรือจัดระบบแล้ว |
3. ข้อใดคือความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ข. การประมวลผลที่เป็นสารสนเทศ ค. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือข้อมูลดิบ ง. ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลหรือจัดระบบแล้ว |
4. ข้อใด คือลักษณะสารสนเทศที่ดีด้านกระบวนการ
ข. การมีส่วนร่วม ค. การเชื่องโยง ง. ถูกทุกข้อ |
5. ข้อใดคือรูปแบบของสารสนเทศที่ดี
ข. ความรวดเร็วและทันใช้ ค. ความถูกต้อง ง. ไม่มีข้อถูก |
6. ข้อใดคือประโยชน์ของระบบสารสนเทศด้านประสิทธิผล
ข. ช่วยทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว ค. ระบบสารสนเทศช่วยในการตัดสินใจ ง. ช่วยลดต้นทุน |
7. ความหมายของข้อมูล
ข. การประมวลผลที่เป็นสารสนเทศ ค. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือข้อมูลดิบ ง. ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลหรือจัดระบบแล้ว |
8. ข้อใดคือประโยชน์ของระบบสารสนเทศด้านประสิทธิภาพ
ข. ระบบสารสนเทศทำให้การปฏิบัติงานมีความรวดเร็วมากขึ้น ค. ความได้เปรียบในการแข่งขัน ง. ระบบสารสนเทศช่วยปรับปรุงคุณภาพของสินค้า / บริการให้ดีขึ้น |
9. ข้อใดเป็นองค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
ข. ซอฟต์แวร์(Software) ค. ฐานข้อมูล (Database) ง. ถูกทุกข้อ |
10. ความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ข. การประมวลผลที่เป็นสารสนเทศ ค. ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลหรือจัดระบบแล้ว ง. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือข้อมูลดิบ |
"แบบทดสอบ หน่วยที่ 6 เรื่อง แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
1. การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนเรียกว่า
ข. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ค. คอมพิวเตอร์การเรียนการสอน ง. ไม่มีข้อถูก |
2. เทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญในอนาคต
ข. ปัญญาประดิษฐ์ ค. ถูกทั้งข้อ ก และ ข ง. ไม่มีข้อถูก |
3. การประชุมทางไกล เป็นการรวมนำเอาเทคโนโลยีสาขาใดมารวมกัน
ข. คอมพิวเตอร์, เครื่องถ่ายโทรทัศน์ ค. เครื่องถ่ายโทรทัศน์, ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ง. คอมพิวเตอร์, เครื่องถ่ายโทรทัศน์, ระบบสื่อสารโทรคมนาคม, โทรศัพท์ |
4. ความหมายของอินเตอร์เน็ต
ข. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงไปทั่วโลก ค. เครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงกันได้ภายในประเทศ ง. ไม่มีข้อถูก |
5. คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบเกี่ยวกับอะไร
ข. ออกแบบมัลติมีเดีย ค. ออกแบบผลิตภัณฑ์, วิศวกรรมและสถาปัตยกรรม ง. กูกทุกข้อ |
6. เทคโนโลยีมัลตีมีเดีย เป็นการจัดเก็บข้อมูลและข่าวสารในลักษณะใด
ข. เสียง ค. ข้อความ ง. ถูกทุกข้อ |
7. การพัฒนาระบบสารสนเทศ ควรเตรียมความพร้อมในด้านใด
ข. งบประมาณ ค. อุปกรณ์ ง. ถูกทั้งข้อ ก และ ข |
8. ข้อใดไม่ใช่สิ่งที่ผู้บริหารควรเตรียมความพร้อมสำหรับองค์กร
ข. วิเคราะห์ความเกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลขององค์การ ค. เตรียมวางแผนเกี่ยวกับบุคลากร ง. วางแผนที่จะสร้างและพัมนาระบบ |
9. ตัวกลางที่สามารถส่งข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว คือข้อใด
ข. อินเตอร์เน็ต ค. ระบบเครือข่าย ง. ถูกทุกข้อ |
10. ผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อการทำงานขององค์การ
ข. การสนับสนุนการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ ค. เครื่องมือในการทำงาน ง. ถูกทุกข้อ |
การปฏิบัติตนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ปัจจุบันความก้าว หน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศได้มีบทบาทที่สำคัญต่อวิถีชีวิตและสังคมของมนุษย์ เทคโนโลยีสารสนเทศได้สร้างการเปลี่ยนแปลงและโอกาสให้แก่องค์การ เช่น เปลี่ยนโครงสร้างความสัมพันธ์และการแข่งขันในอุตสาหกรรม ปรับโครงสร้างการดำเนินงานขององค์การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและบริการ เป็นต้น เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดรูปแบบใหม่ในการติดต่อสื่อสารและมีปฏิ สัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทำให้มีการพัฒนาและกระจายตัวของภูมิปัญญา ซึ่งต้องอาศัยบุคคลที่มีความรู้และความเข้าใจในการใช้งานเทคโนโลยีให้เกิด ประโยชน์ ปัจจุบันองค์การในประเทศไทยได้มีการตื่นตัวที่จะนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ งานมากขึ้น เพื่อที่จะทำให้เราติดตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีได้ทัน และสามารถใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ในการแข่งขัน อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเทคโนโลยีขององค์การจะขึ้นอยู่กับผู้บริหารเป็นสำคัญ โดยที่ผู้บริหารจะต้องเตรียมความพร้อมสำหรับองค์การดังต่อไปนี้
- ทำความเข้าใจต่อบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อธุรกิจปัจจุบัน เพื่อ ให้สามารถนำความรู้ต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้กับงานที่กำลังทำอยู่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพในการแข่งขันขององค์การ เช่น การนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในระบบคลังสินค้าของบริษัท การใช้ความก้าวหน้าด้านการสื่อสารมาช่วยในการเชื่อมโยงข้อมูลของแผนกต่าง ๆ หรือการใช้ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในการเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ ขายวัตถุดิบ องค์การ และลูกค้า เป็นต้น
- ระบบสารสนเทศเกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลขององค์การ นัก วิเคราะห์ระบบและผู้ใช้จะศึกษาหรือพิจารณาถึงข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ ที่องค์การต้องการและใช้ในการดำเนินงานอยู่เป็นประจำ เพื่อที่จะทำการรวบรวมและจัดระเบียบเก็บไว้ในระบบสารสนเทศ และเมื่อมีความต้องการข้อมูล ก็สามารถเรียกออกมาใช้ได้ทันที โดยการพัฒนาระบบต้องให้ความสำคัญกับภาพรวมและความสอดคล้องในการใช้งาน สารสนเทศขององค์การเป็นสำคัญ
- วางแผนที่จะสร้างและพัฒนาระบบ เพื่อ ให้การดำเนินการสร้างหรือพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์การ ภายใต้งบประมาณและระยะเวลาที่กำหนดไว้ การวางแผนถือเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะระบบสารสนเทศจะประกอบด้วยระบบย่อยอื่น ๆ อีกมาก ซึ่งจะต้องสัมพันธ์กันและใช้เวลาในการพัฒนาให้สมบูรณ์
โดยที่การเตรียมงานเพื่อ ให้การดำเนินการพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์การประสบความสำเร็จ สมควรประกอบด้วยการเตรียมการในด้านต่อไปนี้
- บุคลากร การเตรียมบุคลากรให้พร้อมเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะสร้างและพัฒนา ตลอดจนการใช้งานระบบสารสนเทศเมื่อจัดสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว บุคลากรที่ต้องจัดเตรียมควรเป็นทั้งระดับผู้บริหาร นักเทคโนโลยีสารสนเทศ นักวิชาชีพเฉพาะ และพนักงานปฏิบัติการ เพื่อให้มีความรู้ ทักษะ และความเข้าใจในขีดความสามารถและศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการจัดฝึกอบรมหรือบรรยายพิเศษ รวมทั้งการสรรหาบุคลากรทางสารสนเทศให้สอดคล้องกับความต้องการทั้งในปัจจุบัน และอนาคตของหน่วยงาน
- งบประมาณ เตรียม กำหนดจำนวนเงินและวางแนวทางในการจัดหาเงินที่จะมาพัฒนาระบบสารสนเทศให้เพียง พอกับแผนที่วางไว้ ตลอดจนจัดทำงบประมาณสำหรับการพัฒนาระบบในอนาคต เนื่องจากเทคโนโลยีขององค์การอาจจะล้าสมัยและสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน ในระยะเวลาสั้น
- การวางแผน ผู้ บริหารต้องจัดทำแผนการจัดสร้างหรือพัฒนาระบบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งอาจจะต้องมีการจัดตั้งคณะทำงาน ซึ่งอาจจะประกอบด้วยผู้บริหาร ผู้ใช้ นักออกแบบระบบและผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาปฏิบัติงานร่วมกัน
องค์การที่เจริญเติบโตใน อนาคตต้องสามารถประยุกต์เทคโนโลยีเข้าไปในโครงสร้างการบริหารงานและการ ติดต่อสื่อสาร โดยเทคโนโลยีสารสนเทศเปรียบเสมือนเส้นประสาทของธุรกิจ แต่การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในองค์การจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและ บุคลากร มากกว่าการเพิ่มประสิทธิภาพหรือการลดขั้นตอนในการทำงาน การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวข้องกับจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อส่วน รวม เช่น การไหลเวียนของข้อมูลผ่านขอบเขตขององค์การและเขตแดนของประเทศ การติดตามผลและตรวจสอบการทำงานกับความเป็นส่วนตัวของพนักงาน การทุจริตหรือฉ้อโกงในระบบเครือข่าย การก่อการร้ายหรือการโจรกรรม ซึ่งผู้บริหารจะต้องติดตามทำความเข้าใจในศักยภาพและผลกระทบของเทคโนโลยีที่ มีต่อองค์การและสังคม เพื่อให้เลือกใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดและก่อให้เกิดผลกระทบในด้าน ลบน้อยที่สุดต่อองค์การและสังคมแวดล้อม
เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้บูรณาการเข้าสู่ระบบ ธุรกิจ ดังนั้นองค์การที่จะอยู่รอดและมีพัฒนาการต้องสามารถปรับตัวและจัดการกับ เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม โดยหัวข้อนี้จะกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจใน อนาคต เพื่อให้ผู้บริหารในฐานะหัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การ ได้ศึกษา แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศอาจทำให้ เทคโนโลยีที่กล่าวถึงในที่นี้ล้าสมัยได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้บริหารที่สนใจจะต้องศึกษาติดตามความเปลี่ยน แปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญในอนาคตมีดังต่อไปนี้
|
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีขององค์การ
ปัจจุบันพัฒนาการและการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ใน องค์การ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ซึ่งก่อให้เกิดความท้าทายแก่ผู้บริหารในอนาคตให้นำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิด ประโยชน์สูงสุดแก่ธุรกิจ โดยผู้บริหารต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และวิสัยทัศน์ต่อแนวโน้มของเทคโนโลยี เพื่อให้สามารถตัดสินใจนำเทคโนโลยีมาใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเราสามารถจำแนกผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อการทำงานขององค์การออกเป็น 5 ลักษณะ ดังต่อไปนี้
|
แบบบทดสอบ หน่วยที่ 5 เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศกับอินเทอร์เน็ต
1. เครื่องมือที่ให้บริหารลูกค้าออนไลน์
ข. ห้องสนทนา ค. เว็บเพจส่วนตัว ง. ถูกทุกข้อ |
2. ข้อใดไม่ใช่ข้อจำกัดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิสก์
ข. ข้อจำกัดด้านกฏหมาย ค. ข้อจำกัดด้านวัฒนธรรม ง. ข้อจำกัดด้านเศรษฐกิจ |
3. การพาณิชย์อิเล็กทรอนิสก์ มีชื่อเรียกอีกว่าอะไร
ข. อีคอมเมิร์ช ค. คอมพิวเตอร์ ง. ไม่มีข้อใดถูก |
4. ประเภทสินค้าของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ข. สินค้าที่ไม่ใช่ข้อมูลดิจิทัส ค. ถูกทั้งข้อก และ ข ง. ไม่มีข้อถูก |
5. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิสก์
ข. ประโยชน์ต่อองค์การ/ธุรกิจ ค. ประโยชน์ต่อสังคม ง. ประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ |
6. ข้อใดไม่ใช่ระบบจ่ายเงินอิเล็กทรอนิสก์
ข. การจ่ายเงินสดผ่านธนาคาร ค. เครดิตการ์ดอิเล็กทรอนิสก์ ง. การ โอนเงินอิเล็กทรอนิสก์ |
7. กลุ่มลูกค้าของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ข. องค์การ ค. บริษัท ง. ถูกทั้งข้อ ก และ ข |
8. วิธีการรักษาความปลอดภัย
ข. ใบรับรองทางอิเล็กทรอนิสก์ ค. ถูกทั้งข้อ ก และ ข ง. ไม่มีข้อถูก |
9. ความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิสก์
ข. การขายสินค้าผ่านคอมพิวเตอร์ ค. การชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ต ง. ถูกทุกข้อ |
10. ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิสก์
ข. B to C ค. C to C , B to G ง. ถูกทุกข้อ |
ข้อจำกัดเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
- ข้อจำกัดด้านเทคนิค
- ข้อจำกัดด้านกฎหมาย
- ข้อจำกัดด้านเศรษฐกิจ
- ข้อจำกัดด้านอื่น ๆ
ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีทั้งในระดับบุคคล องค์การ สังคม และระบบเศรษฐกิจ
- ประโยชน์ต่อบุคคล
- ประโยชน์ต่อองค์การ/ธุรกิจ
- ประโยชน์ต่อสังคม
- ประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ
วิธีการรักษาความปลอดภัย
- การใช้รหัส (Encryption)
- ใบรับรองทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic certificate)
- โปรโตคอล (Protocols)
การรักษาความปลอดภัย
ความต้องการการรักษาความปลอดภัย (security requirements)
|
การสนับสนุนการบริการอื่น ๆ ให้ลูกค้า
มีเครื่องมือหลายประเภทที่ให้บริการลูกค้าออนไลน์ได้ เช่น
|
ระบบการจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์
|
โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคนิค (Technical Infrastructure)
การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องอาศัยฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์จำนวนมาก องค์ประกอบที่สำคัญ คือ เครือข่าย เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web server) การสนับสนุนเว็บเซิร์ฟเวอร์ และซอฟท์แวร์ที่ใช้ทำธุรกรรม และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต |
การวิจัยทางการตลาด
การวิจัย ทางการตลาดที่ต้องการหาแรงจูงในที่ทำให้ลูกค้าซื้อสินค้า/บริการบนอินเทอร์ เน็ตมีความสำคัญมากขึ้นโมเดลในการทำวิจัยเพื่ออธิบายพฤติกรรมของลูกค้า
ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มี 4 ประเภทหลัก ๆ คือ
|
โมเดลของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B to B มีหลายแบบ ที่สำคัญได้แก่ Seller oriented marketplace, และ Intermedialy-Oriented marketplace (Turban et al., 2000)
|
แอพพลิเคชั่นของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แบบ B to C |
ประเภทสินค้าของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
สำหรับสินค้าที่ซื้อขายในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จำแนกได้ดังนี้
|
กรอบแนวคิดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กรอบแนวคิดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
- แอพพลิเคชั่นของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส
- ์ปัจจัยทางการบริหาร
- โครงสร้างพื้นฐาน
ความหมาย (E-Commerce)
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทุกรูปแบบโดยครอบคลุมถึงการซื้อขายสินค้า/บริการ การชำระเงิน การโฆษณาโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะเครือข่ายทางอินเทอร์เน็ต
ความเป็นมาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) หรืออีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) เริ่มขึ้นเมื่อประมาณต้นทศวรรษที่ 1970 โดยเริ่มจากการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงาย และในช่วงเริ่มต้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทใหญ่ๆ เท่านั้น บริษัทเล็กๆ มีจำนวนไม่มากนัก ต่อมาเมื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange - EDI) ได้แพร่หลายขึ้น ประกอบกับคอมพิวเตอร์พีซีได้มีการขยายเพิ่มอย่างรวดเร็วพร้อมกับการพัฒนา ด้านอินเทอร์เน็ตและเว็บ ทำให้หน่วยงานและบุคคลต่าง ๆ ได้ใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นในปัจจุบันพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ครอบ คลุมธุรกรรมหลายประเภท เช่น การโฆษณา การซื้อขายสินค้า การซื้อหุ้น การทำงาน การประมูล และการให้บริการลูกค้า
แบบบทดสอบ หน่วยที่ 4 เรื่อง ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
1. อะไรคือปัจจัยการพัฒนาระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคลต้องพิจารณา
ข. ต้นทุน ค. การติดต่อสื่อสาร ง. ถูกทุกข้อ |
2. ข้อใดไม่ใช่แหล่งข้อมูลของนักการตลาดที่ใช้ในการวิเคราะห์ วางแผน และควบคุม
ข. คู่แข่ง ค. ข้อมูลภายนอก ง. ลูกค้า |
3. ส่วนประกอบที่ทำให้การดำเนินงานทางการตลาดประสความสำเร็จ
ข. ผลิตภัณฑ์ , ราคา, สถานที่ , โฆษณา ค. ราคา, สถานที่ , โฆษณา ง. ผลิตภัณฑ์, สถานที่, โฆษณา |
4. หน้าที่สำคัญของการจัดการทางการเงินของระบบสารสนเทศด้านการเงิน
ข. การจัดการด้านการเงิน ค. การควบคุมทางการเงิน ง. ถูกทุกข้อ |
5. หน้าที่ของระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยตลาด
ข. ระบบสารสนเทศการวิจัยตลาด ค. ถูกทั้งข้อ ก และ ข ง. ระบบสารสนเทศการวิเคราะห์ลูกค้า |
6. การตรวจสอบและการควบคุมทางการเงินสามารถควบคุมได้โดย
ข. การควบคุมภายนอก ค. ถูกทั้งข้อ ก และ ข ง. ถูกทุกข้อ |
7. ข้อใดเป็นระบบสารสนเทศทางธุรกิจที่จำแนกตามหน้าที่
ข. ระบบสารสนเทศด้านการเงิน ค. ระบบสารสนเทศด้านการตลาด ง. ถูกทุกข้อ |
8. แหล่งข้อมูลในการผลิดและการดำเนินงานขององค์การ
ข. ข้อมูลสินค้าคงคลัง ค. ถูกทั้งข้อ ก และ ข ง. ข้อมูลจากภายนอก |
9. ข้อใดคือส่วนประกอบของระบบสารสนเทศด้านการบัญชี
ข. ระบบบัญชีบริหาร ค. ถูกทั้งข้อ ก และ ข ง. ไม่มีข้อถูก |
10. เทคโนโลยีมีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจอย่างไร
ข. การดำเนินธุรกิจมีความรวดเร็วมากขึ้น ค. ช่วยให้การทำงานมีระบบมากขึ้น ง. ถูกทุกข้อ |
ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล (human resource information system)
ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล (human resource information system) หรือ HRIS หรือระบบสานสนเทศสำหรับบริหารงานบุคคล (personnel information system) หรือ PIS เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาให้สนับสนุนการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่การวางแผน การจ้างงาน การพัฒนาและการฝึกอบรม ค่าจ้างเงินเดือน การดำเนินการทางวินัย ช่วยให้การบริหารทรัพยากรบุคคลเกิดประสิทธิภาพ โดยที่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรบุคคลจะมีดังนี้
- ข้อมูลบุคลากร เป็นข้อมูลของสมาชิกแต่ละคนขององค์การ ซึ่งประกอบด้วยประวัติเงินเดือนและ สวัสดิการ เป็นต้น
- ผังองค์การ แสดงโครงสร้างองค์การ การจัดหน่วยงานและแผนกำลังคน ซึ่งแสดงทั้งปริมาณและการจัดสรรทรัพยากรบุคคล
- ข้อมูลจากภายนอก ระบบ บริหารทรัพยากรบุคคลมิใช่ระบบปิดที่ควบคุมและดูแลสมาชิกภายในองค์การเท่า นั้น แต่จะเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ซึ่งต้องการข้อมูลจากภายนอกองค์การ เช่น การสำรวจเงินเดือน อัตราการว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ เป็นต้น
การจัดการทรัพยากรบุคคลเป็นงานสำคัญที่มิใช่เพียงแต่การปฏิบัติงานประจำวันที่เกี่ยว กับการควบคุมดูแลบุคลากรและค่าจ้างแรงงานเท่านั้น แต่ต้องเป็นการดำเนินงานเชิงรุก (proactive) การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานช่วยให้งานทรัพยากรบุคคลมี ประสิทธิภาพขึ้น โดยที่การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคลต้องพิจารณาปัจจัยสำคัญ 5 ประการดังต่อไปนี้
- ความสามารถ (capability) หมายถึงความพร้อมขององค์การและบุคคลในการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยต้องพิจารณาความสามารถของบุคลากร 3 กลุ่มคือ
- ผู้บริหารระดับสูงต้องพร้อมที่จะสนับสนุนด้านนโยบาย กำลังคน กำลังเงิน และวัสดุอุปกรณ์ในการพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์การ
- ฝ่ายทรัพยากรบุคคลต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และตื่นตัวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ เพื่อให้การทำงานในหน่วยงานมีความคล่องตัวขึ้น
- ฝ่ายสารสนเทศที่ต้องทำความเข้าใจและออกแบบระบบงานให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ในแต่ละกลุ่ม
- การควบคุม (control) การพัฒนา HRIS จะให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของสารสนเทศโดยเฉพาะการเข้าถึงและความถูกต้อง ของข้อมูล เนื่องจากข้อมูลด้านทรัยพากรบุคคลจะเกี่ยวข้องกับความเป็นส่วนตัวของสมาชิก แต่ละคน ซึ่งจะมีผลต่อชื่อเสียงและผลได้-ผลเสียของบุคคล จึงต้องมีการจัดระบบการเข้าถึงและจัดการข้อมูลที่รัดกุม โดยอนุญาตให้ผู้มีหน้าที่และความรับผิดชอบในแต่ละหน่วยงานสามารถเข้าถึงและ ปรับปรุงสารสนเทศในส่วนงานของตนเท่านั้น
- ต้นทุน (cost) ปกติการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคลจะมีต้นทุนที่สูง ขณะเดียวกันก็จะไม่เห็นผลตอบแทนที่ชัดเจน ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงขององค์การทั้งในด้านการขยายตัวและหดตัวซึ่งจะมีผลกระทบต่อ บุคลากร ดังนั้นฝ่ายบริหารและทรัพยากรบุคคลสมควรมีข้อมูลที่เหมาะสมในการตัดสินใจ เป็นต้น ขณะเดียวกัน การลงทุนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งฝ่ายบริหารสมควรต้องพิจารณาผลตอบแทนที่ได้รับจากการพัฒนาระบบว่าคุ้มค่า กับต้นทุนที่ใช้ไปหรือไม
- การติดต่อสื่อสาร (communication) หมายถึงการพัฒนาระบบสารสนเทศต้องศึกษาการไหลเวียนของสารสนเทศ (inforamtion flow) ภายในองค์การและความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนเตรียมการในการสื่อสารข้อมูล เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบ เกิดความเข้าใจและทัศนคติที่ดีกับการนำระบบสารสนเทศมาประยุกต์ใช้
- ความได้เปรียบในการแข่งขัน (competitive advantage) ปัจจุบันการพัฒนา HRIS ไม่เพียงแต่ช่วยให้การดำเนินงานขององค์การมีประสิทธิภาพขึ้น แต่ยังมีส่วนสำคัญในการสร้างศักยภาพและความได้เปรียบในการแข่งขันให้แก่ ธุรกิจ
ปัจจุบันเราต่าง ยอมรับว่า คนเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ แต่ทรัพยากรบุคคลเป็นทรัพยากรมีค่าใช้จ่ายสูงที่ธุรกิจต้องรับภาระทั้งทาง ตรงและทางอ้อม เช่น เงินเดือน สวัสดิการ และข้อมูลผูกพันในสัญญาจ้างงาน HRIS เป็นระบบสารสนเทศที่นำเสนอข้อมูลการตัดสินใจซึ่งเกิดประโยชน์แก่องค์การและ สมาชิกแต่ละคน ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับงานด้านทรัพยากรบุคคลอย่าง ถูกต้องขึ้น
ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน (production and operations information system)
การผลิต (production) เป็นกระบวนการแปรรูปทรัพยากรการผลิต เช่น วัตถุดิบ แรงงาน และ พลังงาน ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่พร้อมในการจัดจำหน่ายแก่ลูกค้า โดยผู้ผลิตต้องพยากรณ์ปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า โดยไม่ให้มีจำนวนมากหรือน้อยจนเกินไป ตลอดจนควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นที่ต้องการของลูกค้า โดยมีต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม ปัจจุบันการขยายตัวของธุรกิจจากการผลิตเข้าสู่สังคมบริการ ทำให้มีการประยุกต์หลักการของการจัดการผลิตกับงานด้านบริการ ซึ่งเราจะเรียกการผลิตในหน่วยบริการว่า “ การดำเนินงาน (operations)” โดยที่แหล่งข้อมูลในการผลิตและการดำเนินงานขององค์การมีดังต่อไปนี้
การวางแผนความต้องการวัสดุ
การบริหาร ทรัพยากรการผลิต โดยเฉพาะวัตถุดิบ (raw materials) เป็นหัวใจสำคัญของการจัดการด้านการดำเนินงานการผลิต ถ้าธุรกิจมีปริมาณวัตถุดิบมากเกินไปจะทำให้ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสูง แต่ถ้ามีปริมาณวัตถุดิบน้อยเกินไปก็จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อแผนและกระบวนการ ผลิต ตลอดจนก่อให้เกิดค่าเสียโอกาสทางธุรกิจ การวางแผนความต้องการวัสดุ (material requirement planning) หรือที่เรียกว่า MRP เป็นระบบสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระบบการผลิต เพื่อประกอบการวางแผนความต้องการวัสดุเพื่อให้ธุรกิจสามารถจัดการวัตถุดิบ อย่างมีประสิทธิภาพ โดย MRP ให้ความสำคัญกับสิ่งต่อไปนี้
|
ระบบสารสนเทศด้านการตลาด (marketing information system)
การตลาด (marketing) เป็นหน้าที่สำคัญทางธุรกิจ เนื่องจากหน่วยงานด้านการตลาดจะรับผิดชอบในการกระจายสินค้าและบริการไปสู่ ลูกค้า ตั้งแต่การศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการ การวางแผนและการสร้างความต้องการ ตลอดจนส่งเสริมการขายจนกระทั้งสินค้าถึงมือลูกค้า ปกติการตัดสินใจทางการตลาดจะเกี่ยวข้องกับการจัดส่วนประสมทางการตลาด (marketing mix) หรือ ส่วนประกอบที่ทำให้การดำเนินงานทางการตลาดประสบความสำเร็จ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยหลัก 4 ประการ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ (product) ราคา (price) สถานที่ (place) และการโฆษณา (promotion) หรือที่เรียกว่า 4Ps โดยสารสนเทศที่นักการตลาดต้องการในการวิเคราะห์ วางแผน ตรวจสอบ และควบคุมให้แผนการตลาดเป็นไปตามที่ต้องการมาจากแหล่งข้อมูลดังต่อไปนี้
|
ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (financial information system)
ระบบการเงิน (financial system) เปรียบเสมือนระบบหมุนเวียนโลหิตของร่างกายที่สูบฉีดโลหิตไปยังอวัยวะต่าง ๆ เพื่อให้การทำงานของอวัยวะแต่ละส่วนเป็นปกติ ถ้าระบบหมุนเวียนโลหิตไม่ดี การทำงานของอวัยวะก็บกพร่อง ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบร่างกาย ระบบการเงินจะเกี่ยวกับสภาพคล่อง (liquidity) ในการดำเนินงาน เกี่ยวข้องกับการจัดการเงินสดหมุนเวียน ถ้าธุรกิจขาดเงินทุน อาจก่อให้เกิดปัญหาขึ้นทั้งโดยตรงและทางอ้อม โดยที่การจัดการทางการเงินจะมีหน้าที่สำคัญ 3 ประการ ดังต่อไปนี้
|
ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (accounting information system)
ปัจจุบันงานของนักบัญชีมีการ เปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างมาก เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยทำให้มีการพัฒนาชุดคำสั่งสำเร็จรูป หรือชุดคำสั่งเฉพาะสำหรับช่วยในการเก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูล ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาและเพิ่มความถูกต้องในการทำงานแก่ผู้ใช้ ทำให้นักบัญชีมีเวลาในการปฏิบัติงานเชิงบริหารมากขึ้น เช่น การออกแบบและพัฒนาระบบงาน พัฒนาระบบงบประมาณและระบบข้อมูลสำหรับผู้บริหาร เป็นต้น โดยที่ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (accounting information systems) หรือที่เรียกว่า AIS จะเป็นระบบที่รวบรวม จัดระบบ และนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชีที่ช่วยในการตัดสินใจแก่ผู้ใช้สารสนเทศทั้งภาย ในและภายนอกองค์การ โดยระบบสารสนเทศทางการบัญชีจะให้ความสำคัญกับสารสนเทศที่สามารถวัดได้ หรือการประมวลผลเชิงปริมาณมากกว่าการแก้ปัญหาเชิงคุณภาพ โดยระบบสารสนเทศด้านการบัญชีจะมีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วนคือ
- ระบบบัญชีการเงิน (financial accounting system) บัญชีการเงินเป็นการบันทึกรายการคำที่เกิดขึ้นในรูปตัวเงิน จัดหมวดหมู่รายการต่าง ๆ สรุปผลและตีความหมายในงบการเงิน ได้แก่ งบกำไรขาดทุน งบดุล และงบกระแสเงินสด โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ นำเสนอสารสนเทศแก่ผู้ใช้และผู้ที่สนใจข้อมูลทางการเงินขององค์การ เช่น นักลงทุนและเจ้าหนี้ นอกจากนี้ยังจัดเตรียมสารสนเทศในการตัดสินใจของผู้บริหาร ซึ่งนักบัญชีสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศใช้ในการประมวลข้อมูล โดยจดบันทึกลงในสื่อต่าง ๆ เช่น เทปหรือจานแม่เหล็ก เพื่อรอเวลาสำหรับทำการประมวลและแสดงผลข้อมูลตามต้องการ
- ระบบบัญชีบริหาร (managerial accounting system) บัญชีบริหารเป็นการนำเสนอข้อมูลทางการเงินแก่ผู้บริหารเพื่อใช้ในการตัดสิน ใจทางธุรกิจ ระบบบัญชีจะประกอบด้วย บัญชีต้นทุน การงบประมาณ และการศึกษาระบบ โดยมีลักษณะสำคัญคือ
- ให้ความสำคัญกับการจัดการสารสนเทศทางการบัญชีแก่ผู้ใช้ภายในองค์การ
- ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานในอนาคตของธุรกิจ
- ไม่ต้องจัดทำสารสนเทศตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
- มีข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน
- มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งาน
AIS จะให้ความสำคัญกับการรวบรวมข้อมูลและการติดต่อสื่อสารทางการเงิน ซึ่งเป็นกระบวนการติดต่อสื่อสารมากกว่าการวัดมูลค่า โดยที่ AIS จะแสดงภาพรวม จัดเก็บ จัดโครงสร้าง ประมวลข้อมูล ควบคุมความปลอดภัย และการรายงานสารสนเทศทางการบัญชี ปัจจุบันการดำเนินงานและการไหลเวียนของข้อมูลทางการบัญชีมีความซับซ้อนมาก ขึ้น ทำให้นักบัญชีต้องกำหนดคุณสมบัติของสารสนเทศด้านการบัญชีให้สัมพันธ์กับการ ดำเนินงานขององค์การ ประการสำคัญ AIS และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะมีทั้งส่วนที่แยกออกจากกันและเกี่ยวเนื่อง สัมพันธ์กัน แต่ MIS จะให้ความสำคัญกับการจัดการสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจของผู้บริหาร ขณะที่ AIS จะประมวลสารสนเทศเฉพาะสำหรับผู้ใช้งานทั้งภายในและภายนอกองค์การ เช่น นักลงทุน เจ้าหนี้ และผู้บริหาร เป็นต้น
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (business information systems) เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานของธุรกิจให้ ดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยถูกออกแบบและพัฒนาให้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ทางธุรกิจ ตลอดจนช่วยส่งเสริมให้ทั้งองค์การสามารถประสานงานและใช้ข้อมูลร่วมกันอย่าง มีประสิทธิภาพทั้งในระดับปฏิบัติงานและระดับบริหาร โดยเราสามารถจำแนกระบบสารสนเทศตามหน้าที่ทางธุรกิจตามหน้าที่ดังต่อไปนี้
|
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการดำเนินธุรกิจ
ผู้บริหารต้องคำนึงถึงความสอด คล้องระหว่างการดำเนินธุรกิจ เทคโนโลยี และการตัดสินใจที่ต้องกระทำอย่างสอดคล้องกัน ปัจจุบันผู้บริหารต้องประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศและการตัดสินใจทางธุรกิจของ องค์การอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดวิสัยทัศน์และสร้างโอกาสในการประยุกต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ องค์การ ผู้บริหารต้องสามารถจัดการกับเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถแบ่งเป็นขั้นตอนดังต่อไปน
- กำหนดกลยุทธ์องค์การที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
- กำหนดแผนงานสารสนเทศระดับองค์การและการดำเนินงาน กำหนดโครงสร้างหน่วยงานสารสนเทศ
- พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศขององค์การ (information system infrastructure) เช่น อุปกรณ์ ชุดคำสั่ง ระบบสื่อสารและจัดการข้อมูล ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดศักยภาพและความยืดหยุ่นในการปรับตัวของงาน สารสนเทศในองค์การ
- กำหนดรายละเอียดการดำเนินงานภายในองค์การ พร้อมทั้งพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความพร้อมต่อการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดแก่องค์การ
แบบบทดสอบ หน่วยที่ 3 เรื่อง โปรแกรมและภาษาคอมพิวเตอร์
1. ข้อใดเป็นการสนับสนุนของระบบสารสนเทศ
ข. ระบบสารสนเทศแบบรายงานเพื่อการจัดการ ค. ระบบสารสนเทศสนับสนุนการทำงานตาหน้าที่ ง. ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ |
2. วัตถุประสงค์ของระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ
ข. เพื่อเอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานประจำให้มีความรวดเร็ว ค. เพื่อเป็นหลักประกันว่าข้อมูลและสารสนเทศมีความถูกต้อง ง. ถูกทุกข้อ |
3. ข้อใดเป็นหน้าที่ของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ข. การเก็บบันทึกเหตุการณ์ ค. ช่วยในการวางแผนงานประจำและควบคุมการทำงาน ง. จัดเก็บข้อมูล |
4. ประเภทของรายงานระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ข. รายงานที่ทำตามระยะเวลากำหนด ค. รายงานเมื่อมีเงื่อนไขเฉพาะเกิดขึ้น ง. ถูกทุกข้อ |
5. ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของบุคคลใด
ข. ผู้บริหาร ค. เจ้าหน้าที ง. ถูกทุกข้อ |
6. ข้อใดเป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการทำรายงานตามระยะเวลาที่กำหนดไว้
ข. ระบบสารสนเทศแบบรายงานเพื่อการจัดการ ค. ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ ง. ไม่มีข้อใดถูก |
7. ความหมายของสารสนเทศของหน่วยงานย่อย
ข. ระบบสารสนเทศของหน่วยงานที่มีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานทั้งหมดภายในองค์การ ค. ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลข้อมูล ง. ระบบสารสนเทศที่ช่วยผู้บริหารตัดสินใจ |
8. ข้อใดไม่ใช่ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ขององค์การ
ข. ระบบสารสนเทศด้านการจัดการ ค. ระบบสารสนเทศด้านการผลิต ง. ระบบสารสนเทศด้านการตลาด |
9. ข้อใดไม่ใช่ประเภทของระบบสารสนเทศ
ข. สารสนเทศของหน่วยงานย่อย ค. ระบบสารสนเทศของทั้งองค์กร ง. ถูกทุกข้อ |
10. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ
ข. การจัดกลุ่มของข้อมูล ค. การคิดคำนวณ ง. การเรียงลำดับข้อมูล |
การจำแนกตามการให้การสนับสนุนของระบบสารสนเทศ (Classification by Support Provided)
การจำแนกตามการให้การสนับสนุนของระบบสารสนเทศ แบ่งเป็น 3 ประเภทย่อย คือ ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ (Transaction Processing Systems) ระบบสารสนเทศแบบรายงานเพื่อการจัดการ (Management Reporting Systems) และระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems)
- ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ (Transaction Processing Systems -TPS)
เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวล ข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรมหรือการปฏิบัติงานประจำหรืองานขั้นพื้นฐานของ องค์การ เช่น การซื้อขายสินค้า การบันทึกจำนวนวัสดุคงคลัง เมื่อใดก็ตามที่มีการทำธุรกรรมหรือปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่ เกี่ยวข้องจะเกิดขึ้นทันที เช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อลูกค้า ประเภทของลูกค้า จำนวนและราคาของสินค้าที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า
วัตถุประสงค์ของ TPS
- มุ่งจัดหาสารสนเทศทั้งหมดที่หน่วยงานต้องการตามนโยบายของหน่วยงานหรือตามกฎหมาย เพื่อช่วยในการปฏิบัติงาน
- เพื่อเอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานประจำให้มีความรวดเร็ว
- เพื่อเป็นหลักประกันว่าข้อมูลและสารสนเทศของหน่วยงานมีความถูกต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและรักษาความลับได้
- เพื่อเป็นสารสนเทศที่ป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการตัดสินใจอื่น เช่น MRS หรือ DSS
หน้าที่ของ TPS
หน้าที่ของ TPS มีดังนี้ (Haag et al.,2000:50)
- การจัดกลุ่มของข้อมูล (Classification) คือ การจัดกลุ่มข้อมูลลักษณะเหมือนกันไว้ด้วยกัน
- การคิดคำนวณ (Calculation) การคิดคำนวณโดยใช้วิธีการคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ เช่น การคำนวณภาษีขายทั้งหมดที่ต้องจ่ายในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
- การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting) การจัดเรียงข้อมูลเพื่อทำให้การประมวลผลง่ายขึ้น เช่น การจัดเรียง invoices ตามรหัสไปรษณีย์เพื่อให้การจัดส่งเร็วยิ่งขึ้น
- การสรุปข้อมูล (Summarizing) เป็นการลดขนาดของข้อมูลให้เล็กหรือกะทัดรัดขึ้น เช่น การคำนวณเกรดเฉลี่ยของนักศึกษาแต่ละคน
- การเก็บ (Storage) การบันทึกเหตุการณ์ที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน อาจจำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลไว้ โดยเฉพาะข้อมูลบางประเภทที่จำเป็นต้องเก็บรักษาไว้ตามกฎหมาย ที่จริงแล้ว TPS เกี่ยวข้องกับงานทุกระดับในองค์การ แต่งานส่วนใหญ่ของ TPS จะเกิดขึ้นในระดับปฏิบัติการมากกว่า แม้ว่า TPS จะจำเป็นในการปฏิบัติงานในองค์การแต่ระบบ TPS ก็ไม่เพียงพอในการสนับสนุนในการตัดสินใจของผู้บริหาร ดังนั้นองค์การจึงจำเป็นต้องมีระบบอื่นสำหรับช่วยผู้บริหารด้วย ดังจะกล่าวต่อไป
ลักษณะสำคัญของระบบสารสนเทศแบบ TPS
ลักษณะที่สำคัญของระบบ TPS มีดังนี้ (Turban et al.,2001:277)
- มีการประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก
- แหล่งข้อมูลส่วนใหญ่มาจากภายในและผลที่ได้เพื่อตอบสนองต่อผู้ใช้ภายใน องค์การเป็นหลัก อย่างไรก็ตามในปัจจุบันหุ้นส่วนทางการค้าอาจจะมีส่วนในการป้อนข้อมูลและ อนุญาตให้หน่วยงานที่เป็นหุ้นส่วนใช้ผลที่ได้จาก TPS โดยตรง
- กระบวนการประมวลผลข้อมูลมีการดำเนินการเป็นประจำ เช่น ทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกสองสัปดาห์
- มีความสามารถในการเก็บฐานข้อมูลจำนวนมาก
- มีการประมวลผลข้อมูลที่รวดเร็ว เนื่องจากมีปริมาณข้อมูลจำนวนมาก
- TPS จะคอยติดตามและรวบรวมข้อมูลภายหลังที่ผลิตข้อมูลออกมาแล้ว
- ข้อมูลที่ป้อนเข้าไปและที่ผลิตออกมามีลักษณะมีโครงสร้างที่ชัดเจน (structured data)
- ความซับซ้อนในการคิดคำนวณมีน้อย
- มีความแม่นยำค่อนข้างสูง การรักษาความปลอดภัย ตลอดจนการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลมีความสำคัญเกี่ยวข้องโดยตรงกับ TPS
- ต้องมีการประมวลผลที่มีความน่าเชื่อถือสูง
กระบวนการของ TPS
กระบวนการประมวลข้อมูลของ TPS มี 3 วิธี คือ (Stair & Reynolds, 1999)
- Batch processing การประมวลผลเป็นชุดโดยการรวบรวมข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรมที่เกิดขึ้นและรวม ไว้เป็นกลุ่มหรือเป็นชุด (batch) เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง หรือจัดลำดับให้เรียบร้อยก่อนที่จะส่งไปประมวลผล โดยการประมวลผลนี้จะกระทำเป็นระยะๆ (อาจจะทำทุกคืน ทุก 2-3 วัน หรือทุกสัปดาห์)
- Online processing คือ ข้อมูลจะได้รับการประมวลผลและทำให้เป็นเอาท์พุททันทีที่มีการป้อนข้อมูลของ ธุรกรรมเกิดขึ้น เช่น การเบิกเงินจากตู้ ATM จะประมวลผลและดำเนินการทันที เมื่อมีลูกค้าใส่รหัสและป้อนข้อมูลและคำสั่งเข้าไปในเครื่อง
- Hybrid systems เป็นวิธีการผสมผสานแบบที่ 1) และ2) โดยอาจมีการรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นทันทีแต่การประมวลผลจะทำในช่วงกระยะเวลา ที่กำหนด เช่น แคชเชียร์ที่ป้อนข้อมูล การซื้อขายจากลูกค้าเข้าคอมพิวเตอร์ ณ จุดขายของ แต่การประมวลผลข้อมูลจากแคชเชียร์ทุกคนอาจจะทำหลังจากนั้น (เช่น หลังเลิกงาน)
Customer Integrated Systems (CIS)
เป็นระบบสารสนเทศซึ่งพัฒนามา จาก TPS โดยลูกค้าสามารถป้อนข้อมูลและทำการประมวลผลด้วยตนเองได้ เช่น ATM (Automated teller machines) ซึ่งช่วยให้ลูกค้า สามารถติดต่อกับธนาคารได้ทุกที่และทุกเวลา ATM ทำให้ลูกค้ามีความคล่องตัวในการเข้าถึง มากขึ้น และทำให้ธนาคารไม่จำเป็นต้องจ้างพนักงานจำนวนมากอีกต่อไป ซึ่งช่วยให้ธนาคารประหยัดเงินได้จำนวนหลายล้านบาทต่อปี ดังนั้นบางธนาคารจึงได้ส่งเสริมให้ลูกค้าในการใช้ ATM โดยการคิดค่าธรรมเนียมหากลูกค้าติดต่อกับพนักงานในการเบิกถอนเงินในลักษณะ ที่สามารถเบิกถอนได้กับเครื่อง ATM (Haag et al.,2000)
นอกจากงานของธนาคารแล้ว ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยต่างๆ ได้นำระบบ CIS มาใช้เพื่อให้นักศึกษาสามารถลงทะเบียน โดยผ่านเครื่องโทรศัพท์ นอกจากนี้ CIS ยังช่วยให้ประชาชนสามารถจ่ายค่าน้ำค่าไปจากคอมพิวเตอร์ที่บ้านก็ได้
หน้าที่ การทำงานของ TPS
- งานเงินเดือน (Payroll)
- การติดตามเวลาการทำงานของพนักงาน
- การคิดเงินเดือน โดยมีการหักภาษี ค่าประกัน หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ
- การออกเช็คเงินเดือนหรือการโอนเงินเดือนเข้าบัญชีให้กับลูกจ้าง
- การสั่งซื้อสินค้า (Purchasing)
- การสั่งซื้อหรือบริการต่างๆ
- การบันทึกข้อมูล การส่งสินค้าหรือบริการจากซัพพลายเออร์ การเงินและการบัญชี
- การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับรายรับ (Finance and Accounting)
- การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับภาษี
- การติดตามค่าใช้จ่ายต่างๆ
- การขาย (Sales)
- การบันทึกข้อมูลการขาย
- การออกใบเสร็จรับเงินหรือบิลส่งสินค้า
- การติดตามข้อมูลรายรับ
- การบันทึกการจ่ายหนี้
- การเก็บข้อมูลการส่งสินค้าหรือบริการไปยังลูกค้า
- วัสดุคงคลัง
- การติดตามการใช้วัสดุภายในหน่วยงาน (Inventory Management)
- การติดตามระดับปริมาณของวัสดุคงเหลือ
- การสั่งซื้อวัสดุที่จำเป็น ที่มา ปรับจาม Turban et al. (2001:43)
- ระบบสารสนเทศแบบรายงานเพื่อการจัดการ (Management Reporting Systems MRS)
ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการทำรายงานตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยการสรุปสารสนเทศที่มีอยู่ไว้ในฐานข้อมูล (Haag et al., 2000:54) หรือช่วยในการตัดสินใจในลักษณะที่โครงสร้างชัดเจนและเป็นเรื่องที่ทราบล่วง หน้า
หน้าที่ของแบบ MRS
- ช่วยในการตัดสินใจงานประจำของผู้บริหารระดับกลาง
- ช่วยในการทำรายงาน
- ช่วยในการตัดสินใจที่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ และมีโครงสร้างแน่นอน เช่น การอนุมัติสินเชื่อให้กับลูกค้า
ลักษณะของ MRS
- ช่วยในการจัดทำรายงานซึ่งมีรูปแบบที่กำหนดไว้เป็นมาตรฐานตายตัว
- ใช้ข้อมูลภายในที่เก็บไว้ในฐานข้อมูล
- ช่วยในการวางแผนงานประจำ และควบคุมการทำงาน
- ช่วยในการตัดสินใจที่เกิดขึ้นประจำหรือเกิดขึ้นบ่อยๆ
- มีข้อมูลในอดีต ปัจจุบัน และวิเคราะห์แนวโน้มอนาคต
- ติดตามการดำเนินงานภายในหน่วยงานเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับเป้าหมายและส่งสัญญาณหากมีจุดใดที่ต้องการการปรับปรุงแก้ไข
ประเภทของรายงาน MRSรายงานจาก MRS มีลักษณะต่างๆ ดังนี้
- รายงานที่จัดทำเมื่อต้องการ (Demand reports) เพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจ เป็นรายงานที่จัดเตรียมรูปแบบรายงานล่วงหน้าและจะจัดทำเมื่อผู้บริหาร ต้องการเท่านั้น
- รายงานที่ทำตามระยะเวลากำหนด (Periodic reports) โดยกำหนดเวลา และรูปแบบของรายงานไว้ล่วงหน้า เช่น มีการจัดทำรายงานทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน ทุกปี เช่น ตารางเวลาการผลิต
- รายงานสรุป (Summarized reports) เป็นการทำรายงานในภาพรวม เช่น รายงานยอดขายของพนักงานขาย จำนวนนักศึกษาลงทะเบียนวิชา MIS
- รายงานเมื่อมีเงื่อนไขเฉพาะเกิดขึ้น (Exception reports) เป็นการจัดทำรายงานเมื่อมีเกณฑ์เงื่อนไขเฉพาะ เพื่อตรวจสอบเงื่อนไขต่างๆ ว่าแตกต่างจากที่วางแผนไว้หรือไม่ เช่น การกำหนดให้เศษของที่เหลือ (scrap) จากการผลิตในโรงงานเป็น 1 เปอร์เซ็นต์ แต่ในการผลิตช่วงหลังกลับมีเศษของที่เหลือ 5 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นอาจมีการเขียนโปรแกรม ในการประมวลผลเพื่อหาว่าเศษของที่เหลือเกินจากที่กำหนดไว้ได้อย่างไร
- ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems-DSS)
ระบบสารสนเทศแบบ DSS เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจ ซึ่งมีลักษณะมีโครงสร้างไม่ชัดเจน โดยนำข้อมูลมาจากหลายแหล่งช่วยในการนำเสนอและมีลักษณะยืดหยุ่นตามความต้องการ
ลักษณะของ DSS
- ระบบสารสนเทศที่ใช้สำหรับการสนับสนุนผู้ตัดสินใจทางการบริหารทั้งที่เป็นตัว บุคคลหรือกลุ่ม โดยการตัดสินใจนั้นจะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่มีลักษณะเป็นแบบ ไม่มีโครงสร้าง (unstructured situations) โดยจะมีการนำวิจารณญาณของมนุษย์กับข้อมูล จากคอมพิวเตอร์มาใช้ประกอบในการตัดสินใจ
- ระบบ DSS ช่วยในการตอบสนองความต้องการที่ไม่ได้คาดการณ์มาก่อนโดยผู้ใช้สามารถปรับ ข้อมูลใน DSS ได้ตลอดเวลาเพื่อจัดการกับเงื่อนไขต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยใช้การวิเคราะห์ที่เรียกว่า Sensitivity Analysis
- ช่วยในการตัดสินใจที่ต้องการความรวดเร็วสูง เพื่อใช้ประกอบในการกำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขัน ดังนั้น DSS จึงมีลักษณะการโต้ตอบได้ (interactive)
- เสนอทางวิเคราะห์ในทางเลือกต่างๆ ในสถานการณ์ที่มีความซับซ้อน
- จัดการเก็บข้อมูลซึ่งมาจากหลายแหล่งได้ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน
- นำเสนอได้ทั้งรายงานที่เป็นข้อความและกราฟฟิค